อู๋เหวย แนวทางแห่งเต๋า ธรรมชาติบรรเทาทุกข์

Tagged: ,

Taoism-6

 อู๋เหวย  คือชื่อของหลักปฏิบัติจิต ในแนวทางของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นลักษณะปฏิบัติ ที่ อยู่ในความเรียบง่ายและเข้าร่วมกับธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่ทำได้
โดยอาศัยการหลีกเลี่ยงการครุ่นคิดกำหนดแบบแผนเป้าหมายอันใดที่เคร่งเครียด ไตร่ตรองยุ่งยากซับซ้อน เกินไป

อู๋เหวย มิใช่การนิ่งเฉย ปล่อยปละชีวิต ไม่ทำอะไรเลย  แต่เป็นความที่จิตมีสภาวะที่  อ่อนน้อม ไม่แทรกแซงบังคับ และไม่ใช่การกระทำที่ยืนกรานอะไรบางอย่าง  ในเชิงที่ขัดแย้งต่อธรรมชาติมากเกินไป
เป็นหลักที่สนับสนุนให้ มนุษย์ปฏิบัติต่อสรรพสิ่ง มีความอ่อนน้อมกลมกลืนและให้เกรียติต่อความเป็นธรรมชาติ
โดยเชื่อว่าการใดก็ตาม ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้มากที่สุด การนั้นส่งผลต่อพลังที่มีค่าและนำมาซึ่งความสงบสุข

Taoism-4

หากเราปรับหลักแนวทางนี้มาใช้กับ วิถีทางโลกของสามัญชนทั่วไป
เราจะพบว่า เรื่องหลายเรื่องนั้น มนุษย์ทุกข์เข็ญเหนื่อยยาก บ้างจมอยู่ในความเศร้า เป็นเพราะเราปลูกฝังจิตให้ขัดแย้งต่อธรรมชาติ
มีหลากหลายเรื่องนานับประการที่ มนุษย์ต้องการฝืนธรรมชาติ และเมื่อเกิดความไม่เป็นดั่งใจก็กลายเป็นความทุกข์

การยอมรับที่จะให้เวลาแก้ไขปัญหา ให้กลไกลของสรรพสิ่งต่างๆในธรรมชาติค่อยๆแก้ไข นั่นก็ถือเป็น  อู๋เหวย อย่างหนึ่ง

ผู้คนมากมายที่ล้มเหลวในทรัพย์สินเงินทองสูญเสียไปมาก หรือบางคนสูญเสียความรักคนรัก บางคนเครียดกับชีวิตหรือตัวตนที่ไม่เป็นอย่างที่อยากให้เป็น

คนมากมายที่ เครียดกลุ้ม จิตใจถูกกระตุ้นความเครียดด้วยการอยากมี ในสิ่งต่างๆ เร็วพลัน  ขบคิดอยากจะหาทางลัดต่างๆนาๆ

อยากจะลัดกลไกลต่างๆ และไม่ให้เกรียติรูปแบบในชีวิตของธรรมชาติ
ไม่แยแส สายลม แสงแดดแมกไม้ รสอาหาร มองไม่เห็นไม่รู้สึกรู้สากับสุขหลายชนิดที่ธรรมชาติมีให้ซึมซับ  และรังแต่จะหมกมุ่นกำหนดจิตอยู่แต่ในสิ่งที่ปราถนา คลุกคลีจนประสาทสัมผัสลืมเลือนเสื่อมถอยต่อการสัมผัสสิ่งสุขที่เรียบง่าย
คนเหล่านี้ย่อมง่ายที่จะเป็นทุกข์!

Taoism-10

แต่หากคนที่เข้าใจสัจธรรมของโลกนี้อยู่บ้าง มีความลดวางความครุ่นเครียดลง ปล่อยให้สิ่งต่างๆค่อยๆดำเนินไป โดยตนเอง
ทำในสิ่งต่างๆเท่าที่จะพอทำได้ สนับสนุนให้ชีวิตมีทิศทางที่ดีขึ้น  ทำได้เท่าที่ทำแต่มิใช่เคร่งเร่งเร้าตนเอง
ไม่ยืนกรานจุดหมายของชีวิตกำหนดเป็นข้อตายตัว   มีการปรับทัศนคติพร้อมที่จะพอใจจุดหมายไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆ
ขอเพียงแต่ละคืนวัน มีการดำเนินไปไม่มากก็น้อยอันมีการกระทำที่คอยหนุนเนื่องพอสมควรอยู่เสมอ

Taoism-2

เปรียบเสมือน ผู้ที่ถักทอ ผ้าผืนงามถักทอโดยไม่สร้างความเหน็ดเหนื่อยในลักษณะกลุ้มเครียดต่อตนเอง
ถักทออย่างผู้ใจเย็น แต่มิใช่ใจเย็นอย่างเพิกเฉยหรือประมาทเหลวไหลต่อชีวิตก็หาไม่
แต่เป็นความใจเย็นอย่างเคารพธรรมชาติ อยู่ร่วมกับกระบวนการของธรรมชาติ อาศัยความค่อยเป็นค่อยไป และเสริมสร้างจิตที่พัฒนาสติพัฒนาอรรถรสที่หยั่งรู้ถึงรสชาติ ของธรรมชาติ

นักพรตเต๋าในอดีตมากมาย ที่ท่านอาจพบเห็นวิถีเหล่านั้นได้จากสื่อต่างๆ เป็นภาพของวิถีชีวิตที่ มีการพัฒนาตน
แต่เป็นการพัฒนาท่ามกลาง วิถีที่ ชื่นชมทิวทัศน์ และอรรถรสความเข้าใจชีวิต เน้นความผ่อนคลายสบายจิต โดยการทำจิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่สร้างตัวตนที่อุดมไปด้วย สิ่งจอมปลอมสิ่งขัดแย้งต่อธรรมชาติ

Taoism

มนุษย์ในสังคมปัจจุบันมากมายเวลาล้มเหลวเสียใจกับเรื่องใดๆมักจะยึดติด อาลัยอาวรณ์ยึดมั่นอยู่กับ วิถีต่างๆที่มนุษย์กำหนดข้อเงื่อนไขในสังคม ขึ้นเอง ไม่ว่า เสื้อผ้าที่ดูดีรถต้องหรูหราไม่งั้นอายผู้คน หรือว่าคนรักที่ถูกเสป๊คถูกรสนิยม  ตำแหน่งหน้าที่การงานฐานะหน้าตา มีทั้งการต้องตามกระแสสังคมมีทั้งความต้องการเอาหน้า มีทั้งความรับไม่ได้ต่อสิ่งที่กำหนดกันเองว่ามันคือความเสียหน้า  และอีกมากมายก่ายกอง ที่ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างเงื่อนขึ้นเองห่างไกลจากการร่วมจิตต่อธรรมชาติ

เมื่อมนุษย์ต้องพบเจอกับกฏของธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีไม่ว่าความสูญเสีย ความไม่ยืนยง ความไม่แน่ไม่นอน ความเสื่อมและโรคภัยไข้เจ็บ ที่เป็นผลทำให้ไม่อาจสมบรูณ์ในเงื่อนไขที่อุปโลกษณ์วางไว้  มนุษย์เหล่านั้นก็จะทุกข์อยู่กับจิตที่ยังตรึงอยู่กับความขัดแย้งต่อธรรมชาติชีวิต

แนวทางในแบบของเต๋านั้น อาจเป็นสิ่งที่มนุษย์บางคนที่มีอัตตาสูงมีภาวะตัวตนทางสังคมหนาหนัก มักจะปฏิเสธการฝึกใจการทำใจ

มักจะปฏิเสธว่าตนเองไม่สามารถทำจิตได้  ตนเองอยากจะหาทางเวียนกลับไปถือครองเสพสุขต่อสิ่งต่างๆทางสังคมให้ได้   แต่ทว่า ธรรมชาติจะสอนให้มนุษย์ผู้นั้นที่ตกทุกข์ดิ้นรนนั้นได้รู้เองหลังจากดิ้นรน นานเวลา  ว่าไม่ว่าดิ้นรนโดยทางใด สุดท้ายการลดทุกข์ให้ได้อย่างแท้จริงก็หนีไม่พ้น ต้องมาตระหนักชีวิตด้วยแนวทางปรัชญา และเข้าถึงความเป็นจริงของโลก

Taoism-5

 

มนุษย์มากมายที่เคยสบประมาท หลักศาสนาใดๆ หรือหลักปรัชญาใดๆ คิดว่าไม่ใช่เรื่องต้องทำความเข้าใจ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องฝึกตน
สุดท้ายพอพบวันที่ได้ตระหนักถึงความเป็นจริงแห่งชีวิตย่อมไม่วายที่จะต้อง ขวนขวายเรียนรู้ในท้ายที่สุด เพื่อต้องการทราบความ จริงของสัจธรรมชีวิต ต้องการทราบเหตุแห่งทุกข์สุข แม้มิได้รู้จักเรียนรู้ในช่องทางการศึกษาทางศาสนา แต่ในการใช้ชีวิตย่อมได้เข้าใจสัจธรรมด้วยตนเองไม่มากก็น้อย

การณ์แบบนี้เป็นสิ่งยืนยันว่า การที่มนุษย์ตระหนักที่จะมองความเป็นจริงของธรรมชาติให้ลึกซึ้งและอยู่ร่วมสัมพัณธ์กันมากเท่าใด การนั้นย่อมก่อเกิดประโยชน์สุขต่อชีวิตอย่างยิ่ง

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).