เบื่ออาหาร เพราะความเครียด

เบื่ออาหาร เพราะความเครียด อาการเบื่ออาหารเป็นผลข้างเคียง เป็นของคู่กันกับโรคซึมเศร้า อย่าว่าแต่คนที่ไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงอาการเครียดกลุ้มหรือทุกช์ใจเศร้าใจทั่วไป ก็ยังมักจะกินอาหารไม่ลง โดยภาวะกินไม่ลง หรือที่เรียกกันว่าเบื่ออาหารนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากสภาพจิตใจ ที่อยากกินอะไร และยังเกิดขึ้นได้กับระบบเคมีในร่างกายที่แปรปรวน ทำลายลดทอนยับยั้ง สารที่กระตุ้นให้เจริญอาหาร ยิ่งหากส่งผลเรื้อรังลงในระบบร่างกาย ยิ่งจะทำให้สถานการณ์แย่ลงมากขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ ในขณะที่ร่างกายทานอาหารน้อยลง ปัญหาที่จะตามมาอีกนั่นก็คือ ภาวะขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ซึ่งจะยิ่ง เป็นอาการที่ขยายโรคซึมเศร้าให้ยิ่งจิตหดหู่ดำดิ่งในความทุกข์มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายขาดสาหารและวิตามิน แน่นอนว่าระบบประสาท ระบบสารสื่อสมองย่อมที่จะเริ่มทำงานได้อย่างเสื่อมถอยบกพร่อง ยิ่งผู้ที่เศร้าโศกเสียใจ ยิ่งคิดมากเท่าไหร่ นั่นคือการที่ผู้นั้นกำลังเอาสมองสติปัญญาที่เสื่อมถอย ไปขบคิด เปรียบเหมือนเอาคนอดนอน คนไม่กินข้าวกินปลา ไปทำงานสำคัญไปสร้างบ้านไปสอนหนังสือไปทำงานต่างๆใดๆย่อมไม่มีทางที่จะได้เนื้องานที่ดี กลับกันจะยิ่งสับสนทำเนื้องานเสียหายด้วยซ้ำ และหากเป็นการขบคิดหาทางออกให้กับปัญหาของชีวิต แล้วเอาสภาพร่างกายแบบนี้มาคิด…

โรคกระเพาะจากความเครียด

โรคกระเพาะจากความเครียด ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะ การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารได้ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเครียดลงกระเพาะ โรคกระเพาะนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากๆในประเด็นที่ทุกวันนี้ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังขาด ความเข้าใจในโรคนี้ โรคกระเพาะเป็นโรคที่เมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นเรื้อรัง รักษาให้หายขาดได้ยาก และก่อเกิดความทรมาณ ยุ่งยากแก่การใช้ชีวิตประจำวัน เวลาที่อาการกำเริบจะสร้างความรู้สึกทรมาน เป็นอย่างยิ่งหากคุณกำลังอยู่ในช่วงของความเครียด เรารุ้ว่ามันเป็นเรื่องยากที่คุณจะควบคุมตัวเองได้ทั้งหมด รวมถึงความสนใจใส่ใจต่อร่างกายตนเอง สิ่งที่คุณควรจะทำให้ได้บ้างนั่นก็คือ มีช่วงพักความเครียดบ้างสักระยะเวลาหนึ่ง  ตั้งสติปรับสมดุลย์ในร่างกาย ผ่อนคลายความตรึงเคร่งลงบ้าง นอกจากนั้น อย่างน้อยๆคุณควรจะแบ่งปันจิตใจมาสนใจตัวเอง บ้างสักนิด อย่างน้อยก็ควรทานอาหารให้ตรงเวลา ช่วงที่กระเพาะมีการหลั่งกรดมากและอยู่ในสภาพเปราะบางนี้ ควรหลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์และน้ำอัดลม รวมถึงอาหารรสจัด อีกทั้งหากคุณโดนโรคกระเพาะเล่นงานเข้าให้แล้ว  การพิจารณายาลดกรด ทานในปริมาณที่กำหนด คือหนทางที่ช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้น  และการปฏิบัติตัวก็คือคุณจะต้องทานอาหารโดยแบ่ง จากมื้อใหญ่กลายเป็นมื้อเล็กๆหลายมื้อ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นมาก …

อาการมือเย็นเท้าเย็น จากความเครียด

อาการมือเย็นเท้าเย็น จากความเครียด อาการมือเย็นเท้าเย็นหรือมีเหงื่อจับ นั้นเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่หากว่าคุณกำลังอยู่ในสภาวะเครียดกลุ้มหรือซึมเศร้าเรื้อรัง นั้นบ่งบอกได้ถึง ความเครียดที่เริ่มส่งผลต่อสุขภาพของคุณแล้ว และเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังถลำลึกมากเกินไป และขระนี้มันพัฒนาการอาการขึ้นมาอีกระดับแล้ว  ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระบบของร่างกาย ที่ยากจะแก้ไขได้ในภายหน้า อาการมือเย็นเท้าเย็นนั้นเกิดจากความเรื้อรังของสภาวะความเครียด ที่ได้ส่งผลต่อระบบร่างกาย ร่างกายหลั่งสารเคมี ที่ไปกระตุ้นหัวใจทำงานหนักขึ้น  จึงทำให้หลอดเลือดแดง บีบตัวแคบลง จนส่งผลให้มือเท้าเย็น หรือมือเท้าชา ซึ่งอาการเหล่านี้จะสามารถขยายไปยังโรคร้ายแรงได้อีกหลายโรค ไม่ว่าโรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ  อาการช๊อค ฯลฯ หนทางในการบำบัดรักษาอาการเหล่านี้คือ 1.ควรพักผ่อนให้เพียงพอ  2.หาทางแก้ไขรักษาความเครียดอย่างตั้งใจที่จะรักษา อย่าเอาแต่จมเจ่าในความเศร้า 3รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง ผักผลไม้และธัญญาพืช และต้องทานอาหารครบมื้ออย่างเพียงพอ 4.ฝึกฝนทำสมาธิ ฝึกฝนปรับสภาวะร่างกายให้ผ่อนคลาย

3อาการสำคัญ ในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนัก

3อาการ สำคัญในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนัก การตระหนักถึงสภาะวะอาการของตนเองคือข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดการรักษาได้ดีขึ้น และมีการควบคุมระมัดระวังข้อบกพร่องของตนเองได้ สำหรับบทนี้เราจะมานำเสนอ 4อาการ ที่อาจจะเกิดขึ้นในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนักดังนี้คือ 1.คนเป็นโรคซึมเศร้า มักหมดอาลัยตายอยาก นี่คืออาการที่อันตรายเพราะถ้าคุณปล่อยไว้นาน ต่อมรับรสชาติชีวิตของคุณอาจเสียหายจนฟื้นฟูยากในภายหลัง   2คนเป็นโรคซึมเศร้ามักเก็บกด เครียดกลัดกลุ้มพ่ำเพ้อระบาย ขอให้คุณเข้าใจว่า การกระทำเช่นนี้ คืออาการของผู้ที่อยากได้คนมารับฟัง ขอให้คุณเลือกคนที่เหมาะสมจริงๆที่จะรับฟังคุณได้ แต่ขอให้คุณเข้าใจว่าพฤติกรรมในช่วงนี้ คุณจะเป็นคนที่ผู้อื่นอยากจะ เดินหนี เพราะคุณจะกลายเป็นเหมือนคนบ้าที่พูดมากโดยไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากคุณสูญเสื่อมเซ้นส์การรับรู้ในสิ่งที่ไม่ใช่รหัสภาษาคำพูดไป  ดังนั้นขอให้ตั้งสติ และหาแหล่งระบายที่เหมาะสม และค่อยๆฝึกลดอาการระบายเหล่านี้พยายามควบคุมมันให้ได้   ซึ่งควรฝึกจิตใจในทางปล่อยวางมากกว่าการเก็บกด เมื่อสภาพสมองฟื้นคืนพักผ่อนเพียงพอ  ระบบเซ้นส์รับรู้เรื่องต่างๆโดยอัตโนมัติจะมีโอกาสกลับมาทำงานดีขึ้นโดยไม่ต้องไล่เรียงเป็นคำพูดร้อยพันในหัวอีก แต่ถ้าคุณยังฝืนทำร้ายตัวเองจนอาการหนัก ระบบเซ้นส์รับรู้อาจเสื่อมสภาพไปอย่างยากฟื้นคืน คนเป็นโรคเครียดกลัดกลุ้มเก็บกด หรือซึมเศร้านั้น มักมีระบบประสาทความคิดไม่สมประกอบ โดยเฉพาะหากคุณเป็นมาแล้วติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า1เดือนขึ้นไป…

ระวังโรคกระดูกผุกร่อน จากโรคเครียดเรื้อรัง

ระวังโรคกระดูกผุกร่อน จากโรคเครียดเรื้อรัง สิ่งที่ควรพึงระวังอีกประการหนึ่งของ อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเครียดเรื้อรังนั่นก็คือ โรคกระดูก ผุกร่อน ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายได้ทั้งปัจจุบันและส่งผลต่ออนาคต โรคกระดูกผุกร่อน นั้นเป็นโรคชนิดหนึ่งที่มีความทรมารและสร้างความลำบากให้กับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยโรคกระดูกผุกร่อนนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และโรคเครียดก็คือปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคกระดูกผุกร่อนได้เช่นกัน อันเนื่องมาจากระบบการทำงานที่ผิดปรกติของร่างกาย ที่เกิดจากสภาวะเครียดเรื้อรัง นั้น จะเกิดภาวะที่กระตุ้นให้ร่างกายจะหลั่งสาร steroid ออกมา และการที่มีสเตียรอยด์สูงนานๆ จะสามารถส่งผลทำให้กระดูกบางและผุกร่อนได้ และโดยเฉพาะในผู้หญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน ยิ่งจะมีอัตตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้น หากคุณตกอยู่ในช่วงเวลาของโรคเครียดการ พึงระวัง พยายามรักษาตัวเองปรับลดความเครียดและตั้งใจรักษา ตัวเองให้หาย ในขณะเดียวกัน ก็รับประทานอาหารที่มีโภชนาการแคลเซี่ยมสูงรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และความบ่อยที่พอเหมาะ ในช่วงของคืนวันที่มีอาการของโรคเครียด  คือหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยเลี่ยงความเสี่ยงจากโรคกระดูกผุกร่อนได้