อย่าพยายามฝืนให้เขาแกร่ง ในสภาวะที่ไม่เหมาะแก่เวลา

อย่าพยายามฝืนให้เขาแกร่ง ในสภาวะที่ไม่เหมาะแก่เวลา การกระตุ้นให้แข็งแกร่ง ด้วยการเอ่ยถ้อยคำที่ไม่แสดงความสงสารหรือเห็นใจ หรือแม้แต่บางรายใช้การกล่าวหยันเหยียด หรือหัวเราะหมั่นไส้ หรือแสดงความสมเพชอย่างไรก็แล้วแต่ ด้วยหวังลึกๆว่าจะช่วยกระตุ้นให้ คนที่กำลังซึมเศร้าแข็งแกร่งขึ้นได้นั้น ถือเป็นหลักวิธีที่หลายๆคนนิยมนำมาใช้กันอยู่ แต่วิธีเหล่านี้ไม่สามารถใช้ได้ในทุกกรณีโดยเฉพาะกับผู้ป่วยซึมเศร้าในลักษณะที่ก่อเกิดถึงขั้นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะกับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ต่อเรื่องของกลไกลภาวะจิตใจมนุษย์ ยิ่งเป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงที่จะซ้ำเติม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าโลกนี้โหดร้ายขึ้น อยู่ยากขึ้น และไม่มีใครเข้าใจหรือเห็นใจเขา ดังนั้นผู้ที่จะทำการดูแลช่วยส่งเสริมการรักษาตัวของผู้ป่วย ควรทราบถึงข้อสำคัญดังต่อไปนี้ 1.อย่าเอาตนเองเป็นที่ตั้ง  เช่นพูดข่มผู้อื่นว่าตนเองเคยเจอเรื่องร้ายๆมาแล้ว ตัวเองเคยเจอเคยผ่านสิ่งนั้นสิ่งนี้      ควรทราบว่า ระดับขีดจำกัดของคนนั้นมีไม่เท่ากันแตกต่างกัน อีกทั้งเรื่องราวที่เจอย่อมมีรายละเอียดของเนื้อหาและบริบทที่ต่างกัน   เจอในภาวะที่ต่างกัน ย่อมมีข้อแตกต่างไม่มากก็น้อย และที่สำคัญในยามที่ตนเองเผชิญนั้นก็ต้องอาจผ่านในจุดที่อ่อนแอเช่นกัน และไม่จำเป็นต้องเอาสภาพที่โหดร้าย ให้ผู้อื่นเผชิญเฉกเดียวกับตนเองเสมอไปหากสามารถทำให้ดีกว่าได้นั้นคือสิ่งที่ควรทำ 2.คนในภาวะอ่อนแอหรือมีการกระทบกระเทือนจิตใจ ควรทราบว่านั่นเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปรกติทางโครงสร้างระบบประสาทและสารเคมี ความรู้สึกทุกข์สุขในระบบประสาทมีการทำงานแปรปรวนและอารมณ์ที่สับสน สติและปัญญาที่ตีบแคบลง…