เบื่ออาหาร เพราะความเครียด

เบื่ออาหาร เพราะความเครียด อาการเบื่ออาหารเป็นผลข้างเคียง เป็นของคู่กันกับโรคซึมเศร้า อย่าว่าแต่คนที่ไม่มีอาการรุนแรงถึงขั้นโรคซึมเศร้า แต่เป็นเพียงอาการเครียดกลุ้มหรือทุกช์ใจเศร้าใจทั่วไป ก็ยังมักจะกินอาหารไม่ลง โดยภาวะกินไม่ลง หรือที่เรียกกันว่าเบื่ออาหารนี้เกิดขึ้นได้ทั้งจากสภาพจิตใจ ที่อยากกินอะไร และยังเกิดขึ้นได้กับระบบเคมีในร่างกายที่แปรปรวน ทำลายลดทอนยับยั้ง สารที่กระตุ้นให้เจริญอาหาร ยิ่งหากส่งผลเรื้อรังลงในระบบร่างกาย ยิ่งจะทำให้สถานการณ์แย่ลงมากขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ ในขณะที่ร่างกายทานอาหารน้อยลง ปัญหาที่จะตามมาอีกนั่นก็คือ ภาวะขาดสารอาหาร ขาดวิตามิน ซึ่งจะยิ่ง เป็นอาการที่ขยายโรคซึมเศร้าให้ยิ่งจิตหดหู่ดำดิ่งในความทุกข์มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายขาดสาหารและวิตามิน แน่นอนว่าระบบประสาท ระบบสารสื่อสมองย่อมที่จะเริ่มทำงานได้อย่างเสื่อมถอยบกพร่อง ยิ่งผู้ที่เศร้าโศกเสียใจ ยิ่งคิดมากเท่าไหร่ นั่นคือการที่ผู้นั้นกำลังเอาสมองสติปัญญาที่เสื่อมถอย ไปขบคิด เปรียบเหมือนเอาคนอดนอน คนไม่กินข้าวกินปลา ไปทำงานสำคัญไปสร้างบ้านไปสอนหนังสือไปทำงานต่างๆใดๆย่อมไม่มีทางที่จะได้เนื้องานที่ดี กลับกันจะยิ่งสับสนทำเนื้องานเสียหายด้วยซ้ำ และหากเป็นการขบคิดหาทางออกให้กับปัญหาของชีวิต แล้วเอาสภาพร่างกายแบบนี้มาคิด…

ยิ่งทระนงยิ่งไม่ยอมรับตัวเอง จะยิ่งหลงทาง

ยิ่งทระนงยิ่งไม่ยอมรับตัวเอง จะยิ่งหลงทาง อาการทระนง และไม่ยอมรับความอ่อนแอของตนเองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆคน หลายสิ่งหลายอย่างภายในจิตใจทั้งที่รู้ตัวเองอยู่ลึกๆและทั้งที่ไม่รู้ตัวเองไม่ยอมรับตัวเองนั้น ในคืนวันแรกที่คนเราเสียใจ  มักจะปากแข็งใจแข็งไม่ยอมรับอาการต่างๆในจิตใจตนเอง และคนอกหักในระยะเริ่มแรกที่ยังสับสน ก็มักจะเป็นแบบนี้ ไม่อยากมองเห็นตัวเองแพ้ไม่อยากมองเห็นตัวเองอ่อนแอ ไม่อยากมองเห็นตัวเองหวั่นไหว แต่ในที่สุดความเก็บกดของคืนวันแสะสถานการณ์ที่มากขึ้น มันมักจะทำให้ผู้คนยอมแพ้ที่จะเผยความเป็นจริงออกมา หลายคนที่กลั้นน้ำตาอยู่นานพอสกัดไม่อยู่กลับกลายเป็นอ่อนแออย่างมากมาย ราวกับคนขวัญเสีย กลับกลายเป็นคนที่อารมณ์แปรปรวนอย่างหนักควบคุมตัวเองไม่ค่อยได้ แท้จริงแล้ว การแสดงออกมาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับตัวเรา นั้นคือหนทางที่เกิดประโยชน์ในการแก้ไขบำบัดเยียวยาจิตใจ เพราะหากเราปิดบัง ภาวะอาการทั้งหมดภายในจิตใจนั้นย่อมไม่เกิดการแก้ไขรักษา รวมถึงการเรียนรู้เข้าใจ และที่สำคัญ หากว่าตัวเรายอมรับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเรา เราก็จะสามารถจัดการกับอาการเริ่มแรกนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นแบบแผนขั้นตอน เช่นว่าเรารุ้ตัวเองว่าเราแคร์ในสิ่งใดและเรายอมรับตัวเอง เราก็จะได้โอกาสที่จะสอนตัวเองให้เรียนรุ้ที่จะทำใจและปรับทัศนคติใหม่   แต่หากเราไม่ยอมรับตัวเองแล้วล่ะก็ สิ่งต่างๆจะสะสมอยู่มากมายและอัดอั้นระเบิดออก อารมณ์สารพัดที่ซับซ้อนจะพรั่งพรูออกมา อย่างรับมือได้ยากขึ้นมาก และเสียใจหนัก หากคุณกำลังเริ่มรู้สึกสับสนและกำลังเผชิญกับอาการอกหักในระยะแรก จงรีบสังเกตุตัวเองด้วยความเป็นจริงและตามติดคอยช่วยเหลือจิตใจของตนเองทุกระยะ แต่ขอให้ตระหนักอยู่เสมอว่าการเผยออกมานั้น…

3อาการสำคัญ ในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนัก

3อาการ สำคัญในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนัก การตระหนักถึงสภาะวะอาการของตนเองคือข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดการรักษาได้ดีขึ้น และมีการควบคุมระมัดระวังข้อบกพร่องของตนเองได้ สำหรับบทนี้เราจะมานำเสนอ 4อาการ ที่อาจจะเกิดขึ้นในโรคซึมเศร้าซึ่่งต้องตระหนักดังนี้คือ 1.คนเป็นโรคซึมเศร้า มักหมดอาลัยตายอยาก นี่คืออาการที่อันตรายเพราะถ้าคุณปล่อยไว้นาน ต่อมรับรสชาติชีวิตของคุณอาจเสียหายจนฟื้นฟูยากในภายหลัง   2คนเป็นโรคซึมเศร้ามักเก็บกด เครียดกลัดกลุ้มพ่ำเพ้อระบาย ขอให้คุณเข้าใจว่า การกระทำเช่นนี้ คืออาการของผู้ที่อยากได้คนมารับฟัง ขอให้คุณเลือกคนที่เหมาะสมจริงๆที่จะรับฟังคุณได้ แต่ขอให้คุณเข้าใจว่าพฤติกรรมในช่วงนี้ คุณจะเป็นคนที่ผู้อื่นอยากจะ เดินหนี เพราะคุณจะกลายเป็นเหมือนคนบ้าที่พูดมากโดยไม่รู้ตัว อันเนื่องมาจากคุณสูญเสื่อมเซ้นส์การรับรู้ในสิ่งที่ไม่ใช่รหัสภาษาคำพูดไป  ดังนั้นขอให้ตั้งสติ และหาแหล่งระบายที่เหมาะสม และค่อยๆฝึกลดอาการระบายเหล่านี้พยายามควบคุมมันให้ได้   ซึ่งควรฝึกจิตใจในทางปล่อยวางมากกว่าการเก็บกด เมื่อสภาพสมองฟื้นคืนพักผ่อนเพียงพอ  ระบบเซ้นส์รับรู้เรื่องต่างๆโดยอัตโนมัติจะมีโอกาสกลับมาทำงานดีขึ้นโดยไม่ต้องไล่เรียงเป็นคำพูดร้อยพันในหัวอีก แต่ถ้าคุณยังฝืนทำร้ายตัวเองจนอาการหนัก ระบบเซ้นส์รับรู้อาจเสื่อมสภาพไปอย่างยากฟื้นคืน คนเป็นโรคเครียดกลัดกลุ้มเก็บกด หรือซึมเศร้านั้น มักมีระบบประสาทความคิดไม่สมประกอบ โดยเฉพาะหากคุณเป็นมาแล้วติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า1เดือนขึ้นไป…

ภาวะอารมณ์เปราะบางเรื้อรัง

ภาวะอารมณ์เปราะบางเรื้อรัง อาการอารมณ์แปรปรวนง่าย อารมณ์เปราะบาง และฟุ้งซ่านง่าย ขยายความคิด คิดเล็กคิดน้อยคิดเยอะ ทั้งๆที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็นคนแบบนี้  นั้นมีสาเหตุใหญ่ประการหนึ่ง ซึ่งอาจมีสาเหตุได้จากการ เคยผ่านการเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน และรักษาหายบางส่วนโดยที่บางส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไข  อาจมีปมลึกแผลใจ รวมถึงไม่ได้ทำกระบวนการบำบัดอารมณ์ อย่างถูกต้อง จริงอยู่ว่าแม้ว่าคุณอาจจะใช้วันเวลาเยียวยาเรื่องเก่าๆในอดีต ให้ลืมเลือนไปหลายส่วน และเกียจคร้านที่จะทุกข์กับมัน หรือเก็บมันมาคิดอีก หรือคุณอาจได้ข้อคิดแนวทางชีวิตใหม่ๆที่ทำให้คุณสลัดเรื่องที่เคยคิดมากจนซึมเศร้าไปได้ แต่ทว่า ในบางส่วนอาจยังไม่ได้รับการจัดการแก้ไข ควรทราบว่า ระบบกลไกลของประสาทสมองของคนเรานั้นมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก  และปะปนไปด้วยรหัสความคิดด้วยรูปของความคิดที่ไม่ใช่ภาษา  แต่เป็นรหัสการประมวลผลต่างๆในสมอง ที่เกิดขึ้นเร็วเป็นโครงสร้าง  ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงและเรื้อรังยาวนาน มักจะทำลายโครงสร้างอันเป็นธรรมชาตินี้ไปอย่างไม่รู้ตัว  จนโครงสร้างผิดเพี้ยนไปจากเดิม บางคนเคยเป็นคนที่ร่าเริงเบิกบาน ไม่ถือสากับหลายๆเรื่อง เป็นคนที่แจ่มใสและมีความคิด มีความรู้สึกในด้านบวก แต่ต่อมาเมื่อชีวิตเจอกับเรื่องสะเทือนใจ  ก็กลับกลายเป็นคนฉุนเฉียวเก็บกด…