เศร้าต่อความโหยหาถึงความสุขที่เคยมี

Tagged:

เศร้าต่อความโหยหาถึงความสุขที่เคยมี

ความโหยหา ถึงสิ่งในอดีตที่ผ่านไปแล้วนั้น เป็นความเจ็บปวดร้าวในจิตใจ ของใครหลายคน ที่ต้องจมอยู่ในวันคืนที่ซึมเศร้า

บางครั้งมันน่าแปลกเหมือนกัน ว่าความหดหู่เหล่านั้นมาจากอะไรบ้าง?

……….

“ความปราถนาสุข” คือองค์ประกอบหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภาวะการเหล่านั้น

มันช่างน่าแปลกเหลือเกิน

มนุษย์เรา เวลาเห็นความสุข ของผู้อื่น นั้นอาจยังไม่ยึดติดสักเท่าไหร่ แต่ในยามที่ได้มีโอกาสเป็นผู้สัมผัสสุขนั้นๆด้วยตนเองแล้ว  ก็มักจะยึดติดและทรมานใจในยามที่มันจากไป

โหยหาอดีต

จิตใจที่ซึมซับรายละเอียดของคืนวันที่ผูกพัณธ์ ต่อความสุข ในยามที่มันจากไปแล้วแต่ทว่าอณูความรับรู้ต่อเรื่องราวมันยัง

อยู่ครบ ฟิลลิ่งสัมผัสความรู้สึกยังไม่ยอมจางหาย ยังคมชัดอยู่ในประสาทการรับรู้ มันฝังแน่นยาวนานและใช้เวลาในการจางหายยากเสียยิ่งกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับ ภาวะหลังดูหนังเสร็จแล้วยังรู้สึกอินกับหนัง  มันฝังแน่นยิ่งกว่าและจางหายยากนานกว่า หลายร้อยหลายสิบเท่า

และมันอาจแอบฝังอยู่ในจุดหนึ่งจุดใดของจิตใจได้อีกนานนับหลายปี

โหยหาอดีต-3

ในยามที่ความคิดถึงสิ่งที่เคยมีได้แว่บเข้ามาภายในจิตใจ ความรู้สึกแรกๆมักจะเป็นความปราถนาถึงความสุขนั้น   อยากจะสัมผัสความสุขนั้นอีก บางคนพยายามละเมอเพ้อพก สร้างจินตนาการว่าตนเองได้สัมผัสอีกครั้ง เพื่อให้หายอยากในจิตใจ แต่กับเป็นยิ่งซ้ำเติม

ความอ่อนไหวในจิตใจมากขึ้น

มนุษย์มีนิสัยประหลาดอยู่ประการหนึ่ง อันเป็นนิสัย ที่สร้างเงื่อนไขขึ้นมาเอง เงื่อนไขดังกล่าวก็คือ อะไรที่ตนเองเคยได้รับก็มักจะยึดติดว่า  “สิ่งนั้นคือของเราเป็นของเรา”

ทั้งๆที่ เวลาเรานึกถึงความสุขอื่นๆที่เรายังไม่เคยครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นคนที่ฝันจินตนาการ ว่า มีเงินมีทองมีสมบัติ หรือมีคนรักรูปงาม หรือมีอะไรก็ตามสุดที่มนุษย์จะชอบเพ้อฝันถึง เมื่อฝันละเมอถึงเสร็จก็อมยิ้มอยู่แค่นั้นหาได้ ทุกข์ใจอะไรสักเท่าไหร่ไม่

 

แต่หากเป็นสิ่งที่ตนเองเคยมีเคยครอบครองล่ะก็ จะทุกข์ใจโหยหายิ่ง?

ทั้งๆที่มันเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว มันไม่มีอยู่จริงแล้ว  มันมีสภาพเทียบเท่ากับจินตนาการเพ้อฝันอื่นๆถึงสิ่งที่ไม่เคยมี แต่มนุษย์กลับ ยึดติดกับคำว่าเพราะตนเคยมี  ปักใจเชื่อที่จะต้องเศร้ากับเงื่อนไขนี้

โหยหาอดีต-2

มีผู้คนมากมายที่พยายามจะรักษาอาการหดหู่ชอบเผลอตัวคิดถึงโหยหา และซึมเศร้านี้ และวิธีที่นิยมกันมากที่สุดนั่นก็คือ  การพยายามลืม!

การลืมมันจะช่วยอะไรไม่ได้อย่างแท้จริงตราบที่คุณยังปล่อยวางไม่ได้อย่างแท้จริง และการปล่อยวางมันต้องอาศัยกระบวนการในการพิจารณาจิตของตน

กล้าที่จะนึกถึงและจัดการปรับทัศนคติใหม่ แต่คนส่วนมากมักไม่กล้าที่จะเผชิญหน้ากับความคิด  และมักเลือกที่จะเบือนหน้าหนี เลือกที่จะหลับตาส่ายหน้าไม่รับรู้รับเห็น แต่นั่นคือสภาวะเก็บกดที่ซ่อนลึกถึงแผลใจที่ปวดร้าวเก็บไว้กับตัวเอง

จงฝึกที่จะพิจารณาความคิดถึงความโหยหาของตน จงปรับทัศนคติแง่คิดของตนเองใหม่ จงอย่ายึดติดกับความสุขที่เคยมี ให้เทียบเท่ากันกับความรู้สึกเวลาที่นึกถึงสุขที่ไม่เคยครอบครอง

Leave a Comment

Your email address will never be published or shared and required fields are marked with an asterisk (*).