จะสุขจะทุกข์นั้นขึ้นกับความมีใจอยู่ร่วม โลกเรานั้นสรรพสิ่งล้วนมีความแตกต่าง มีนก มีปลา มีต้นไม้ มีมนุษย์ และมีอีกสารพัดมากมาย มนุษย์คงไม่เศร้าเพราะไม่มีปีกบินได้อย่างนก นกคงไม่เศร้า เก็บกดเป็นปมด้อยเพราะไม่สามารถอยู่ในน้ำได้อย่างปลา ปลาคงไม่เศร้าเพราะไม่มีแขนขาแบบมนุษย์ จะเห็นว่าแต่ละสิ่งล้วนมีวิถีแห่งตน และมีจิตที่ร่วมใจกับชีวิตของตนเอง แต่ทว่าบางทีแล้วสังคมของมนุษย์ นั้นมีการเสี้ยมสอนความเศร้า มีการเปรียบเทียบกับสิ่งที่แตกต่าง กว่าตน เช่น การสังเวชเวทนา คนตาบอดหรือหูหนวก หรือแขนขาพิการ แต่กำเหนิด แต่ก็ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มิได้ตกอยู่ในสภาพใช้ชีวิตไม่ได้ และมนุษย์ที่มีจิตเมตตา ล้วนช่วยเหลือคนพิการเพื่อให้ได้รับความสะดวกในชีวิตมากขึ้น แต่นั่นมิใช่หมายความว่าจะไปตีตราว่าสิ่งที่ผู้พิการเป็นนั้นมันคือสภาพที่น่าสมเพชแต่อย่างใดไม่ บางครั้งเราใช้ความรู้สึกส่วนตัวของเราชี้วัดแทนเขา เราใช้ความเคยชินร่วมใจกับชีวิตของเราไปคิดแทนชีวิตของเขา หากวันใดวันหนึ่ง มีมนุษย์ที่สามารถ เหาะเหินเดินอากาศ มีสายตายาวไกลมองข้ามภูเขาได้ยินเสียงไกลๆได้ มีแขนขาที่ยืดหดได้ มนุษย์ธรรมดาจะถือเป็นสิ่งน่าสมเพชหรือไม่?…
การเรียนรู้ยอมรับปล่อยวาง (บทความนี้ ค่อนข้างยาว คุณอย่าพึ่งอ่านจนจบ และรับสิ่งมากมายเหล่านี้ไว้ในสมอง เราขอแนะนำให้คุณค่อยๆอ่านที่ละเรื่องแล้วนำไปปฏิบัติใช้ทีละเรื่องไป ค่อยๆเข้ามาอ่านเพิ่มเติมทีละนิด ทบทวนหลายๆรอบ จะเป็นความรู้ที่ช่วยคุณได้มาก) คำสามสิ่งคือ เรียนรู้ ยอมรับ ปล่อยวาง เชื่อได้ว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินคำเหล่านี้มามากมายหลายครั้งในชีวิต แต่หากเราเสริมความเข้าใจอันแท้จริงลงลึกไปถึงหลักของสามสิ่งนี้ นี่คือหลักที่สำคัญที่สามารถช่วยให้ คนเอาชนะความทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจได้ และก่อนที่คุณจะเริ่มกระบวนการนี้ สิ่งสำคัญอย่างแรกที่คุณควรต้องมีนั่นก็คือ “การให้เวลา” คุณจงอย่าไปคาดคั้น ที่จะให้ตัวเองหายดีแบบชนิดที่ตื่นมาอีกวัน แล้วร้องดีใจว่า ฉันหายแล้วฉันไม่ทุกข์ใจแล้วฉันสุขใจแล้ว ซึ่งมักเป็นวิธีที่วู่วาม ที่หลายคนมักทำกัน และสุดท้ายก็กลับมาซึมเศร้าวนเวียนในยามแผลใจกำเริบ ดังนั้นการแก้ปมของจิตใจอย่างบรูณาการณ์ นั่นก็คือการเข้าใจว่า กระบวนการนี้ต้องใช้เวลาอยู่บ้าง และต้องตั้งใจอย่าละทิ้งกลางคัน เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความต่อเนื่อง …
การรู้ทันรหัสเริ่มแรกของความคิดที่จะชักนำสู่ความฟุ้งซ่าน เมื่อคุณได้ทำการรักษาจิตใจตัวเองได้ในระดับนึงแล้ว สิ่งที่เหลือที่คุณอาจยังจะต้องเผชิญต่อ นั่นก็คือภาวะฉุกคิด เผลอตัวและซึมเศร้าได้ในบางเวลา บางคนถูกเรื่องราวในอดีตคอยตามหลอกหลอน คอยตามทำร้ายจิตใจเป็นพักๆ แม้ว่าจะทำใจลืมได้ช่วงระยะเวลานึงแต่ก็ มักมีลักษณะของจิตใจย่ำแย่วนเวียนแวะมาเป็นพักๆ การสกัด รู้เท่าทันภาวะเริ่มแรกของจิตใจที่กำลังจะปรับเข้าสู่ความเป็นทุกข์ใจในลักษณะนี้นั้น ถือเป็นวิธีที่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก ขอเพียงต้องมีความตั้งใจฝึกฝนตนเอง ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะ ของการเข้าสู่ภาวะของจิตใจที่เป็นทุกข์ก่อน ลักษณะของคนทั่วไปนั้นก่อนที่จะเริ่มกระบวนการย้อนคิด คิดถึงเรื่องกลุ้ม หรือคิดในสิ่งที่ทำร้ายจิตใจ มันจะมีการรวบรวมองค์ประกอบเล็กๆละเอียดๆ จากนั้นค่อยๆฟุ้งซ่านเพิ่มขึ้นก่อตัวมากขึ้น จนนำสู่ภาวะซึมเศร้า อย่างเช่นการได้ไปเห็นบางสิ่ง ที่สะกิดใจให้ฉุกคิดถึงความหลัง หรือการได้เห็นบางอย่างที่ สะท้อนถึงตัวเอง หรือการได้สัมผัสบรรยากาศบางอย่างที่นำสู่ความนึกถึง หรือแม้แต่บางครั้งสมองของคนเราก็นำความคิดมาให้ดื้อๆแบบไร้เหตุไร้ผลเลยก็มี ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณเผลอทำให้ความรู้สึกนึกคิดในความหลังความเก่า…