การรู้ทันรหัสเริ่มแรกของความคิดที่จะชักนำสู่ความฟุ้งซ่าน

การรู้ทันรหัสเริ่มแรกของความคิดที่จะชักนำสู่ความฟุ้งซ่าน   เมื่อคุณได้ทำการรักษาจิตใจตัวเองได้ในระดับนึงแล้ว สิ่งที่เหลือที่คุณอาจยังจะต้องเผชิญต่อ นั่นก็คือภาวะฉุกคิด เผลอตัวและซึมเศร้าได้ในบางเวลา บางคนถูกเรื่องราวในอดีตคอยตามหลอกหลอน คอยตามทำร้ายจิตใจเป็นพักๆ  แม้ว่าจะทำใจลืมได้ช่วงระยะเวลานึงแต่ก็ มักมีลักษณะของจิตใจย่ำแย่วนเวียนแวะมาเป็นพักๆ การสกัด รู้เท่าทันภาวะเริ่มแรกของจิตใจที่กำลังจะปรับเข้าสู่ความเป็นทุกข์ใจในลักษณะนี้นั้น ถือเป็นวิธีที่ผู้ใช้ต้องมีความชำนาญในระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก ขอเพียงต้องมีความตั้งใจฝึกฝนตนเอง   ก่อนอื่น    เราต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะ ของการเข้าสู่ภาวะของจิตใจที่เป็นทุกข์ก่อน ลักษณะของคนทั่วไปนั้นก่อนที่จะเริ่มกระบวนการย้อนคิด  คิดถึงเรื่องกลุ้ม หรือคิดในสิ่งที่ทำร้ายจิตใจ มันจะมีการรวบรวมองค์ประกอบเล็กๆละเอียดๆ จากนั้นค่อยๆฟุ้งซ่านเพิ่มขึ้นก่อตัวมากขึ้น จนนำสู่ภาวะซึมเศร้า   อย่างเช่นการได้ไปเห็นบางสิ่ง ที่สะกิดใจให้ฉุกคิดถึงความหลัง หรือการได้เห็นบางอย่างที่ สะท้อนถึงตัวเอง   หรือการได้สัมผัสบรรยากาศบางอย่างที่นำสู่ความนึกถึง หรือแม้แต่บางครั้งสมองของคนเราก็นำความคิดมาให้ดื้อๆแบบไร้เหตุไร้ผลเลยก็มี   ดังนั้น ทุกครั้งที่คุณเผลอทำให้ความรู้สึกนึกคิดในความหลังความเก่า…

การรักษาใจในยามอกหักถึงขั้นโรคซึมเศร้า 2

การรักษาใจในยามอกหักถึงขั้นโรคซึมเศร้า 2 จากบทที่แล้วที่เราได้กล่าวถึงภาวะอาการในระยะที่1 ซึ่งคุณจะต้องฝึกฝนใจยอมรับ ความเป็นจริงและเลิกดึงรั้ง เวียนว่ายอยู่ในวังวนของปัญหา ฉุดดึงตัวเองออกมาอย่างผู้มีใจ ที่จะเริ่มทำใจ  และเริ่มบำบัดรักษาตัวเองให้ได้ จากนั้นคุณจึงจะเริ่ม ดำเนินการในลำดับที่2ต่อไป จงจำเอาไว้ว่า มันไม่มีทางที่คุณจะรักาาใจตัวเองได้เลย ตราบที่วันนี้คุณยังไม่มี แรงปราถนาอย่างเต็มเปี่ยมในการที่จะ ลืมเรื่องราวเลวร้ายและตั้งใจรักษาตัวเองอย่างจริงจังนับแต่นี้ไป หากคุณสามารถเข้าใจและพร้อมแล้วที่จะมีแรงตั้งใจที่จะ ทำใจกับเรื่องนี้ให้ได้ และคุณยังมีสติที่เข้ามาในจิตใจของคุณอยู่บ้าง แม้ว่าในบางเวลาคุณจะเผลอตัวฟุ้งซ่านไปบ้างก็ตาม แต่เมื่อคุณสามารถก้าวมาถึง การบำบัดรักษาในขั้นที่2นี้ได้ นั่นก็ถือว่าน่ายินดีบ้างแล้วที่คุณเริ่มมีใจที่จะยอมรับความเป็นจริง   การรักษาในขั้นที่2 นี้คือการต่อสู้กับอาการเผลอใจ  ใจที่ยังชอบเผลอวนเวียนคิดภาพความหลัง ใจที่ยังเปราะบางหวั่นไหวง่ายเวลาเจออะไรที่ทำให้ระลึกถึง และใจที่ยังเปี่ยมด้วยอารมณ์แห่งความอินต่อบรรยากาศความหลัง และตราตรึงในสิ่งที่พึ่งผ่านมา ซึ่งนับจากนี้ไปคุณจำเป็นที่จะต้อง เรียนรู้วิธีการบำบัดรักษาตัวเอง ซึ่ง มีหลายๆเรื่องที่คุณจะต้องเรียนรู้ การรักษาในลำดับต่อไปนี้นั้น…

ทุกข์เพราะนิสัย มุมมองความคิด

ทุกข์เพราะนิสัย มุมมองความคิด   บทนี้เราจะมากล่าวถึงความทุกข์ใจ ในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคซึมเศร้าอันมีสาเหตุของนิสัยเป็นสาเหตุใหญ่ เชื่อหรือไม่ว่ามีคนในโลกนี้มากมายหลายล้านคน ที่จมอยู่กับทุกข์ ในเรื่องบางเรื่องที่  มีบ่อเหตุแห่งความทุกข์มาจากนิสัยตน โดยไม่เคยฉุกใจคิดว่าบ่อเหตุสำคัญ ของความทุกข์มันมาจากอุปนิสัยของตนที่ถือว่ามีส่วนเป็นอย่างมาก ผู้คนโดยมากเวลาบังเกิดความทุกข์จากการสูญเสียหรือความไม่สมหวัง  มักจะอาลัยอาวรและคร่ำครวญหา ย้ำนึกย้ำคิดอยากจะต้องการได้สิ่งที่สูญเสียไปกลับคืน  หรืออยากจะให้สิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจนั้นได้สมดั่งใจ อาการแบบนี้จะทำให้ซึมเศร้าเป็นเอาหนักเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน  จิตใจหมดเรี่ยวแรงและเอาแต่เหม่อลอย บ้างก็เฝ้าโทษสิ่งนั้นเฝ้าโทษสิ่งนี้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ตนเองต้องสูญเสียหรือไม่สมหวัง แท้ที่จริงแล้ว อาการทุกข์ใจในบางเรื่องในบางกรณีนั้น  ถือเป็นกรณีที่ ต่อให้ค้นหาคำปลอบใจล้านคำ ค้นหาข้อคิดล้านข้อคิด ก็ไม่อาจช่วยได้เลย หากคนผู้นั้นยังมองไม่เห็นตัวเอง หรือยังดื้อดึงไม่ยอมเปลี่ยนนิสัย คนบางคนต้องทุกข์เพราะความเย่อหยิ่งทระนง คนบางคนต้องทุกข์เพราะต้องการอยู่ในจุดที่เด่นเหนือผู้คน คนบางคนต้องทุกข์เพราะเอาแต่ใจ ต้องได้ในสิ่งที่อยากได้ คนบางคนต้องทุกข์เพราะไม่ยอมรับความเป็นจริง และยึดติดนิสัยที่ยึดติดต่อวิถีชีวิตที่ชอบอยู่ในโลกลวงๆ โลกปรุงแต่งโลกสีสัน ที่ไม่จีรัง…

จงอย่ายอมเป็นคนประสาท

จงอย่ายอมเป็นคนประสาท หากคุณกำลังรู้สึกได้ถึง ภาวะอารมณ์จิตใจความคิดของตัวเองที่กำลังเริ่มผิดปรกติ มีคำถามดังต่อไปนี้ที่อยากให้คุณลองถามตัวเอง คุณอยากเป็นคนที่เรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีอาการทางประสาทหรือ? เรื่องที่คุณเสียใจอยู่มันคุ้มหรือไม่กับการที่คุณทำลายตัวเอง? คุณไม่อยากกลับเป็นคนปรกติที่มี ประสิทธิภาพดูแล พ่อคุณแม่คุณลูกคุณ พี่น้องคุณ สัตว์เลี้ยงของคุณหรือทุกสิ่งที่คุณรักหรือ? คุณมีความฝันความหวังที่เคยอยากจะทำหรือไม่? จงอย่ายอมแพ้ให้กับ อาการทางจิตใจเหล่านี้! เราขอให้คุณลุกขึ้นสู้  คุณจำเป็นเหลือเกินที่จะต้อง ตระหนักต่อความจริงว่า ภาวะอาการเหล่านี้หากเรื้อรังไป มันก็ยังขยายตัวสู่เรื่องของสุขภาพ ระบบประสาทสมอง ที่ส่อแนวโน้มจะบกพร่อง และความคิดความอ่านเริ่มไม่สมประกอบและผิดเพี้ยนได้  รวมถึงอารมณ์ที่ผิด ปรกติ ซึ่งทั้งหมดมันจะนำทางสู่การเป็นบ้า เป็นประสาท หรือเป็นคนที่แอบเก็บกดมีนิสัยผิดเพี้ยนไปโดยไม่รู้ตัวได้ในภายหน้า การทำร้ายระบบประสาทสมองด้วยความ เคี่ยวกรำ ติดต่อกันย้ำๆ มันคือกระบวนการที่ละเอียดชนิดที่คุณอาจคาดไม่ถึง ซึ่งหลายต่อหลายคนมักคิดว่าตัวฉันไม่เป็นอะไรหรอก หรือคิดว่าสักวันเมื่อฉันหายเศร้าแล้วฉันจะกลับมากลายเป็นคนปรกติได้เอง ความคิดแบบนี้ ขอบอกเลยว่าไม่จริงเสมอไป…

การรักษาใจในยามอกหักถึงขั้นโรคซึมเศร้า 1

การรักษาใจในยามอกหักถึงขั้นโรคซึมเศร้า1 อาการอกหักถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้านั้น แตกต่างจากการอกหักซึมเศร้าทั่วๆไป ซึ่งในประเภทนี้ถือเป็น ประเภทที่ต้องทำการรักษาเยียวยาจิตใจ คือสภาวะอกหักเสียใจรุนแรงและเรื้อรัง มีปมฝังลึกซับซ้อน เป็นแผลใจอยู่ภายในรู้สึกสะเทือนใจรุนแรง ให้ความสำคัญรุนแรง มีภาวะสับสน ทางจิตใจหาทางออกไม่ได้และอาการทรุดหนัก มีพฤติกรรมเริ่มไม่ปรกติ ย้ำคิดย้ำทำ วนเวียน เริ่มมีสติไม่ปรกติ   มนุษย์เรานั้น แต่ละคนมีเนื้อหาของความรักไม่เหมือนกัน บางคนคบกันแบบความรักวัยเด็ก ความผูกพัณธ์อยากชิดใกล้ บางคนมีเนื้อหาร่วมทุกข์ร่วมสุขใช้เวลาคบหากันมา แนบแน่นฝังลึก บางคนถึงกับร่วมอยู่กินฝ่าร้อนฝ่าหนาวมาด้วยกัน บางคน ร่วมเผชิญสารพัดเนื้อหาของชีวิต มามากกว่า20ปี บริบทเนื้อหาของแต่ละคู่ของคนเรานั้น นับว่ามีความแตกต่างกัน และจิตใจของแต่ละคนนั้นก็ต่างกัน หากตัวคุณยังประคองสติตัวเองได้อยู่ ไม่ได้รู้สึกเสียใจอะไรมากมายนัก รักษาจิตใจตัวเองเดี๋ยวก็หาย และไม่มีอาการปมเก็บกดในแผลใจ นั่นแปลว่าคุณไม่ได้เป็น อาการของคนอกหักซึมเศร้าเสียใจรุนแรง อาจเป็นเพราะคุณมีวุฒิภาวะทางจิตใจ…

ควรปล่อยให้ผู้ป่วยได้อยู่คนเดียวบ้าง

ควรปล่อยให้ผู้ป่วยได้อยู่คนเดียวบ้าง แน่นอนว่าการคอยอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า  และไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่ตามลำพังนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ทว่าบางจังหวะของเวลา คุณก็ควรที่จะให้เขาได้อยู่กับตัวเองบ้างเพื่อมีสมาธิที่จะเข้าใจตัวของเขาเอง สิ่งที่ผู้ดูแลหรือญาติพี่น้องข้างเคียงควรทำนั่นก็คือ การคอยให้คำชี้แนะเตือนสติและให้ความรู้ให้ปัญญากับเขาเป็นระยะๆ แต่ต้องเปิดเวลาให้เขาได้ใช้ปัญญาเหล่านั้นด้วยตนเอง เฝ้าดูเขาในลักษณะที่ไม่ให้ถึงกับเป็นการลำพังแต่ก็มิใช่เป็นการรบกวนเขาจนเกินไป เฝ้าดูเขาห่างๆแต่อยู่ในระยะที่มองเห็นสามารถเข้าป้องปรามเหตุร้ายต่างๆได้ทันท่วงที อาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า นั้นแตกต่างจากการซึมเศร้าธรรมดาทั่วไป การซึมเศร้าธรรมดาทั่วไป อาจใช้วิธีที่คนรอบข้างเข้ามารุมมาช่วยกันทำให้ผู้ซึมเศร้า ลืมความทุกข์เศร้าไปได้ ด้วยการพยายามช่วยกันทำให้เขาสนุกสนาน สร้างความครึกครื้นให้เขา นำความบันเทิงต่างๆมาให้เขาหรือชวนเขาไปเที่ยว เหล่านี้เป็นต้น แต่ทว่าสำหรับคนที่เป็นถึงขั้นโรคซึมเศร้า นั้นจะมีรูปแบบของโครงสร้างที่ซับซ้อนและฝังลึกในปมของจิตใจ แม้ว่าผู้ป่วยจะถูกภาวะของความครึกครื้นรุมล้อม แต่จิตของเขาจะยังคงคิดอย่างไม่หยุดยั้ง และยิ่งถูกรบกวนยิ่งสับสน ยิ่งสับสนยิ่งเครียดและสมองยิ่งล้า เขาจะใช้งานประสาทสมองหนักมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นจะมีระดับขั้นต่างๆ หากอยู่ในระดับที่ซักซ้อมความคิดเรื่องทุกข์เศร้า วนเวียนย้ำคิด แบบนี้ไม่ควรปล่อยให้อยู่ลำพัง แต่สิ่งที่ต้องทำคือต้องรีบชี้แนะเขา บำบัดรักษาเขาด้วยกระบวนวิธีที่ถูกต้อง จากผู้รู้ผู้ที่มีความเข้าใจ จงระลึกไว้เสมอว่า อาการทางจิตคือสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าภายนอกไม่เห็น…

ลดความครุ่นคิดเรื่องส่วนตัวลง แล้วหันมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

ลดความครุ่นคิดเรื่องส่วนตัวลง แล้วหันมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ บางทีแล้วเราอาจจะพบว่า ในขณะที่เราเครียดเศร้ากับเรื่องชีวิตของเรา บางครั้งเราอาจหมกมุ่นอยู่แต่กับเรื่องของตัวเองมานานเท่าใดแล้ว คิดมานานไม่ได้อะไร ยิ่งคิดยิ่งเศร้ายิ่งทำตัวถอยหลัง ตกต่ำพ่ายแพ้ชีวิต บางทีสมควรถามตนเองบ้างสักครั้งว่า เรายึดติดอยู่แต่กับชีวิตของเรามากเกินไปหรือเปล่า ฉันไม่มีอะไร ฉันอยากมีอะไร ฉันจะมีอะไร และอีกสารพัดที่เป็นคำถามเกี่ยวกับฉัน บางทีแล้วชีวิตของคุณอาจมีผู้มีพระคุณที่รอให้คุณตอบแทนดูแล หรืออย่างน้อยยังมีเพื่อนมนุษย์อีกมากที่ด้อยโอกาสยิ่งกว่าคุณและเผชิญชะตากรรมที่โดดเดี่ยวรันทดยิ่งกว่าคุณ ลองคิดดูว่า ความปวดร้าวที่เกิดขึ้นกับชีวิตเรา เรายังรู้สึกเจ็บปวดมากขนาดนี้ แล้วผู้อื่นที่เจอสภาพยิ่งกว่าเรานั่นจะขนาดไหน   จงเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส  จงเปลี่ยนประสบการณ์เลวร้ายเป็นบทเรียนที่แสนมีค่า ให้เราตระหนักรู้ว่า แต่ละเรื่องของชะตาชีวิต ความเจ็บปวดมันเป็นยังไงมันรู้สึกอะไร จงอาศัยความเข้าใจนี้ออกช่วยเหลือผู้คน จิตใจที่เสียสละอุทิศและเลิกคำนึงถึงแต่เรื่องตัวเอง นั้นมีคุณประโยชน์มหาศาลมาก มันจะฝึกนิสัยให้คุณกลายเป็นมีความสุขที่จะช่วยเหลือผู้อื่น และใส่ใจเพื่อนมนุษย์ ลดความทุกข์จากการหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ชีวิตคุณยิ่งฝึกฝนเรื่องนี้นับวัน จิตคุณจะมีพลัง มีกำลังใจที่จะลุยชีวิตสร้างสรรค์ช่วยเหลือผู้คน…

จงฝึกรักความสุขและฝึกเกียจคร้านที่จะทุกข์

จงฝึกรักความสุขและฝึกเกียจคร้านที่จะทุกข์   การฝึกรักความสุขและฝึกเกียจคร้านที่จะทุกข์นั้นก่อนอื่นต้องแยกให้ออกก่อนว่า มิใช่หมายถึงการเป็นคนเอาแต่รักสนุกเหลวไหล และเกียจคร้านไม่ยอมเผชิญกับงานหนักหรือภาระหน้าที่สำคัญใดที่ต้องเจอความทุกข์ การฝึกในที่นี้หมายถึงการฝึกรักที่จะมีความสุขในเวลาและกาละที่เหมาะสม มีสุขกับสิ่งที่งดงามสะอาดบริสุทธิ์ และมีค่า มิใช่มักมากในสิ่งสนุกในทางที่ทำลายคุณค่าของตนเอง และจงเกียจคร้านที่จะทุกข์กับสิ่งที่ไม่ควรจะไปทุกข์ เชื่อได้ว่าหลายๆคนที่กำลังตกอยู่ใน โรคซึมเศร้า ทำความรู้สึกหลายประการหายไปนั้น  ชีวิตของคุณน่าจะคงเคยสัมผัสมาแล้ว กับสภาพของจิตใจของตัวเองในอดีต ที่เคยเป็นคนรักสนุกรักอะไรง่ายๆสบายๆ และเกียจคร้านที่จะคิดเรื่องความเครียดความทุกข์ให้ยุ่งยาก และในขณะที่วันนี้คุณหมองเศร้า ไม่สามารถที่จะจับอารมณ์แบบนั้นได้เลย หรือได้ก็เพียงชั่วครู่เท่านั้น ทำไปก็วนเวียนกลับมาซึมเศร้าใหม่   คุณยังคงไม่ใส่ใจสนใจที่จะจริงจังกับการบำบัดความรู้สึกกระตุ้นต่อมความรู้สึกของตัวเอง เท่าที่ควร และคุณอาจจะแอบหวังลึกๆว่าสักวันอาการซึมเศร้ามันคงจะหายไปเอง และคุณจะกลับไปเป็นคนที่ร่าเริงปรกติได้เอง แม้ว่าคุณจะเฝ้ารอแล้วเฝ้ารอเล่าแต่มันก็ไม่ได้สักที   หากคุณคิดแบบนี้ล่ะก็ นับว่าอันตรายมาก ที่ว่าอันตรายก็คือ   คนเรานั้นจะมีต่อมรับรสความสุข ซึ่งมันเป็นกระบวนการที่มหัศจรรย์มากๆของมนุษย์ ซึ่งมันสามารถรับรู้รหัสที่ละเอียดยิบปลีกย่อย และรวดเร็ว…

จงมีสติกับสิ่งรอบตัว เหมือนที่เราขับรถแล้วมองกระจกหลังบ่อยๆตลอดเวลา

จงมีสติกับสิ่งรอบตัว เหมือนที่เราขับรถแล้วมองกระจกหลังบ่อยๆตลอดเวลา   ประโยคนี้หมายถึง การครองสติอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่สิ่งที่ยาก  หากเราชินแล้วเราจะทำได้ ดั่งที่เราขับรถ เราต้องมองทั้งกระจกหน้า กระจกมองหลัง กระจกข้าง เท้าเราเหยีบคันเร่งสลับเบรค มือเราเข้าเกียร์ เมื่อเราฝึกจนเราชิน สิ่งยุ่งยากก็กลายเป็นสิ่งง่ายๆ ทำได้โดยสัญชาติญาณ หากเรามีระบบสติ ที่ดีเลิศ เราขยับกลไกลที่มีคุณภาพเสมอ ชีวิตเราก็จะมีคุณภาพ     เขียนโดย เจ็ดผู้ว่าง่าย setmem

มองให้เห็นบ่อเหตุของความทุกข์

มองให้เห็นบ่อเหตุของความทุกข์ การมองให้เห็นถึงบ่อเหตุแห่งทุกข์นั้นถือเป็น การจัดการที่มีคุณประโยชน์สูงมากในการจัดการกลไกลทางจิตใจ โดยปรกติแล้วคนที่ต้องตกเป็นโรคเครียดซึมเศร้าเรื้อรังรุนแรง มักเกิดจากปัญหาที่ซับซ้อน และหลากหลายรุมสุมทรวง การพิจารณาบ่อเหตุของทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจ จะสามารถ คัดแยกวิเคราะและจัดการกับกลไกลได้ถูกจุด และมองเห็นแผล มองเห็นตัวปัญหาที่ซ่อนลึกอยู่ในปมของจิตใจได้ แต่การที่จะพิจารณาให้เห็นถึงบ่อเหตุในจิตใจนั้น ผู้ฝึกจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนให้จิตใจเกิดสมาธิขึ้นให้ได้ แม้จะยังว้าวุ่นใจ แต่ก็ขอให้ฝึกพอเพียงที่จะเกิดสมาธิที่สงบได้สักช่วงหนึ่ง เพื่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมที่จะมองเห็นบ่อเหตุของความทุกข์ได้ และเมื่อใจเริ่มมีสภาวะเป็นสมาธิแล้ว จึงค่อยๆก่อเกิดสติ ลำเลียงจิต ไตร่ตรอง  หาเหตุว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น อย่างเช่น บางคนที่กำลังทุกข์เพราะถูกคนรักหักหลังทรยศ ก็ให้เราค้นหาคำตอบก่อนว่า ทำไมเราจึงเจ็บเพราะสิ่งนี้  เราเจ็บตรงไหน  เราเจ็บที่ไม่มีเขาอยู่ใกล้ใช่หรือไม่ แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  นั่นเพราะเราหลงใหลในสุขในยามมีเขาอยู่ใกล้ใช่หรือไม่ และทำไมเราจึงมีสุขในยามที่เขาอยู่ใกล้  นั่นเพราะเรายึดติดสิ่งใดในตัวเขา  เรามีความรังเกียจความโดดเดี่ยวใช่หรือไม่ เราค่อยๆคิดถึงเหตุที่ทำให้เราทุกข์ไปเรื่อยๆ  โดยอาศัยการคิดแบบนี้เชื่อมโยงให้ลึกลงไปเรื่อยๆ ซึ่งสามารถนำไปคิดได้ทั้งในคนที่พบเจอความทุกข์จากเรื่องอื่นๆ…

Page 8 of 9